บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08 : 30 – 11 : 30 น.
ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
เนื้อหาที่เรียน
ปัญหาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
หลักสังเกตว่าพฤติกรรมใดเป็นปัญหาพิจารณาจาก
-อายุและเกณฑ์ปกติของพัฒนาการ
- ชนิดของพฤติกรรม
-ความบ่อยหรือความถี่ของพฤติกรรม
-ความรุนแรงที่แสดงออก
-ขีดความอดทนของ พ่อ แม่ ครู ผู้ดูแลเด็ก
1.การร้องอาละวาด
สาเหตุ
-ขั้นตอนของพัฒนาการเป็นช่วงที่เด็กมีความดื้อรั้นเอาแต่ใจ
-มักเกิดในช่วงที่มีพัฒนาการของความเป็นตัวเอง
คือช่วง autonomy ของเด็ก
-การควบคุมตัวเองและทักษะการแก้ไขความคับข้องใจมีอยู่จำกัด
-เลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่
-พ่อ แม่มีทัศนคติในการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
การดูแลแก้ไข
-อธิบายให้พ่อแม่เข้าใจว่าเป็นพัฒนาการด้านอารมณ์ที่ปกติหายได้ด้วยการช่วยเหลือที่เหมาะสม
-หลีกเลี่ยงการยั่วให้โกรธ หรือขัดใจ
-ให้รู้จักระบายความโกรธด้วยการพูด
-เมื่อเด็กมีอาการใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจในเด็กเล็กในเด็กโตใช้วิธีอธิบายสั้นๆ
-เมื่อมีอาการควรทำการแยกเด็ก
ให้อยู่คนเดียว ควรพูดชี้แจงให้เด็กเข้าใจเมื่อหายโกรธแล้ว
2.การดูดนิ้ว
-เป็นเรื่องปกติของเด็กเล็ก
-มักหายไปในช่วงอายุ 3-4 ปี
-ดูดนิ้วมากขึ้น
ถ้าเผชิญกับความเครียด
-การทัก ตำหนิ ดึงมือออก
จะทำให้เด็กดูดนิ้วมากขึ้น
-การดูดนิ้ว
เป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยในเด็กเล็ก และถือว่าเป็นเรื่องปกติ
-ในเด็กทารก พบได้ถึง 80%
-วัยอนุบาล พบได้ถึง 30-90%
-พบใน เพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ผลเสียจากการดูดนิ้ว
ปัญหาทางฟัน
- การสบฟันผิดปกติ
- เพดานปากผิดรูป (แคบ,สูง)
- การพัฒนาของกระดูกหน้าผิดรูป
ปัญหาที่นิ้ว
- เกิดภาวะผิดรูปของนิ้ว
- เกิดการติดเชื้อ
ปัญหาอื่นๆ
- ถูกตำหนิ หรือถูกล้อเลียน
การช่วยเหลือ
-ใช้การเบี่ยงเบนความสนใจ
-ควรมองหาที่สาเหตุมากกว่าพฤติกรรมการดูดนิ้ว
-ชมเชยถ้าเด็กไม่ดูดนิ้ว
อาการ เด็กมีพฤติกรรมขลาดอายไม่กล้าแสดงออก
สาเหตุ กรรมพันธุ์
ทัศนคติการเลี้ยงดู ปกป้องทะนุถนอม
สิ่งแวดล้อมขาดโอกาสในการแสดงออก
การป้องกัน
-ให้เด็กเข้ากลุ่มกับเด็กอื่นตั้งแต่
1-2 ปี
-ให้สร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
ชื่นชมเมื่อเด็กทำดี
การแก้ไข
-ชักชวนเด็กให้เริ่มการให้หรือการเล่นกับเด็กที่เล็กกว่าหรือวัยเดียวกัน
-ส่งเสริมให้เด็กได้เล่นได้ออกกำลังกาย
เพื่อเสริมสร้างความฉับไว และมีความกระตือรือร้น ใน การกล้าแสดงออก
-พ่อแม่และผู้ใหญ่ควรชมเชยส่วนดีของเด็ก
แล้วจูงใจให้เด็กได้พัฒนาส่วนดีนั้นให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
-ควรเปิดโอกาสให้ช่วยตนเอง
เด็กจะพอใจและภูมิใจที่ตนเองทำได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นใจในตนเองและ
กล้าแสดงตนมากขึ้น
4.เด็กขี้อิจฉา
อายุที่พบบ่อย ในช่วง 2-4 ปี
การแสดงออก
-เด็กจะแสดงท่าทางไม่พอใจเมื่อผู้เลี้ยงดูให้ความสนใจ เด็กอื่น โดยแสดงด้วยสีหน้าท่าทาง วาจาหรือ การกระทำ หรือมีพฤติกรรมถดถอยเพื่อเรียกร้องความ สนใจจากผู้ใหญ่
-เด็กจะแสดงท่าทางไม่พอใจเมื่อผู้เลี้ยงดูให้ความสนใจ เด็กอื่น โดยแสดงด้วยสีหน้าท่าทาง วาจาหรือ การกระทำ หรือมีพฤติกรรมถดถอยเพื่อเรียกร้องความ สนใจจากผู้ใหญ่
-อารมณ์อิจฉาเป็นอารมณ์พื้นฐานปกติที่พบได้ทั่วไป
-การที่เด็ก 2
อยู่ร่วมกันจะต้องมีความขัดแย้ง ทะเลาะ
มีความเห็นไม่ตรงกัน ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา
สาเหตุ
-สูญเสียความรู้สึกเป็นเจ้าของ เช่น การมีน้องใหม่
-ท่าทีลำเอียงของผู้เลี้ยงดู
การดูแลแก้ไขและป้องกัน
-ให้เด็กมีส่วนรับรู้ว่าจะมีน้องใหม่
-ผู้ใหญ่ไม่ควรล้อเลียนเด็ก ว่า
ตกอันดับ หรือ อื่นๆ เด็กจะยิ่งเป็นทุกข์และกังวลมากขึ้น
-ฝึกฝนให้ช่วยเหลือตัวเอง
-ให้โอกาสเด็กอยู่ร่วมกับแม่และน้อง
-ไม่มีท่าทีลำเอียงกับลูกคนใด คนหนึ่ง
ควรปฏิบัติต่อลูกเท่าเทียมกัน
เมื่อเกิดปัญหาไม่ควรดุว่าลงโทษ ควรพูดชี้แจง และให้เวลากับเด็กบ้าง
งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้น.ศ.ไปติดตามเพจFacebookของเพื่อนอาจารย์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเด็ก
-ออกแบบสังเกตพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย
การประเมินผล
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนได้เข้าใจดีมาก
อธิบายละเอียด
ประเมินตนเอง
เริ่มปรับตัวได้กับการเรียนออนไลน์ครั้งที่
2 ตั้งใจเรียนมากขึ้นกว่าครั้งแรก
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆเข้าเรียนครบทุกคน น่ารักมาก
และแสดงความคิดเห็นตอบโต้กับอาจารย์เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น