บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563

เวลา 08 : 30 – 11 : 30 น.

👦ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด👦




เนื้อหาที่เรียน📝


📌 ความหมายการศึกษาพฤติกรรมเด็กปฐมวัย


         การศึกษาพฤติกรรม : เป็นกระบวนการ ศึกษาเพื่อให้ทราบถึงต้นเหตุของการกระทำนั้นให้มากที่สุด และชัดเจนที่สุด


💌 สิ่งที่กำหนดพฤติกรรม


        1. กรรมพันธุ์-ปัจจัยด้านตัวบุคคล

         2. สิ่งแวดล้อม


📚 ประเภทของพฤติกรรม


         พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) คือ การกระทำที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สังเกตผ่านอวัยวะรับสัมผัส/ประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น หรือผิวหนัง) หรือใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ช่วยสังเกต

พฤติกรรมภายใน
         
         พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior)  คือ กระบวนการที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลจะโดยรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ตาม เป็นกระบวนการที่ไม่สามารถสังเกตได้และไม่สามารถใช้เครื่องมือวัดได้โดยตรง หากเจ้าของพฤติกรรมไม่บอก (บอกกล่าว เขียน หรือแสดงท่าทาง) ได้แก่ ความคิดอารมณ์ความรู้สึก ความจำ การรับรู้ ความฝัน 





👑 สิ่งเร้า  (Stimulus)

         
         สิ่งเร้าภายใน ได้แก่ สิ่งเร้าที่เกิดจากความต้องการทางกายภาพ เช่น ความหิว ความกระหาย

         สิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ สิ่งกระตุ้นต่างๆ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่สามารถสัมผัสได้โดยประสาททั้ง 5 คือ หู ตา คอ จมูก การสัมผัส


            สิ่งเร้าที่มีอิทธิพลที่จะจูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ได้แก่ สิ่งเร้าที่ทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจที่เรียกว่า การเสริมแรง (Rein for cment) ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ

           
           ➕ การเสริมแรงทางบวก (Positive Rein for cment) คือสิ่งเร้าที่พอใจทำให้บุคคลมีการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น เช่น คำชมเชย การยอมรับของเพื่อน



           ➖ การเสริมแรงทางลบ (Negative Rein for cment) คือ สิ่งเร้าที่ไม่พอใจหรือไม่พึงปรารถนานำมาใช้เพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาให้ลดน้อยลง เช่น การลงโทษเด็กเมื่อเด็กลักขโมย


📛 ความหมายของการสังเกตพฤติกรรม


         การสังเกตเป็นวิธีการที่สามารถเก็บรายละเอียดพฤติกรรมทุกๆ ด้านของเด็กได้ดี และเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามธรรมชาติ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต   สามารถบ่งชี้ความสามารถของเด็กได้


💍 จุดมุ่งหมายของการสังเกตพฤติกรรม

1.เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก

2.เพื่อประเมินพัฒนาการของเด็ก

3.เพื่อนำข้อมูลมาแปลความหมายให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเด็ก


👶 วัตถุประสงค์ในการสังเกตพฤติกรรมของครู

1. เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการวัดและประเมินความสามารถของเด็ก

2. เพื่อค้นหาจุดเด่นของเด็กและต้องการส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้าน

3. เพื่อนำข้อมูลมาวางแผนช่วยเหลือเด็กเป็นรายบุคคล

4. เพื่อใช้เป็นข้อมูลตรวจสอบความก้าวหน้าของเด็กอย่างต่อเนื่อง

5. เพื่อใช้เป็นข้อมูลศึกษาพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งอย่างละเอียด      

6. เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหา

7. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการรายงานผลให้ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

8. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลใส่ในแฟ้มประวัติเด็ก


🌈 ประโยชน์ของการประเมินด้วยการสังเกตสังเกตพฤติกรรม

1. ช่วยให้สามารถสังเกตและบันทึกพฤติกรรมที่จะศึกษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

2. ช่วยให้ศึกษาสังเกตปัญหาและปรับพฤติกรรมของเด็กให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่ต้องการ เหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล

3. ช่วยให้ทราบถึงพัฒนาการของเด็กว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด

4. ช่วยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมก่อนและหลังสถานการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไป





การประเมินผล💬


👦ประเมินอาจารย์

อาจารย์ อธิบายเนื้อหาเข้าใจ มีการยกตัวอย่างวิดีโอในการสอนทำให้เข้าใจในเนื้อได้ง่ายขึ้น


👧ประเมินตนเอง

ตั้งใจเรียน และเข้าใจในเนื้อที่เรียน


👭ประเมินเพื่อน

 เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนดีมาก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น