บันทึกอนุทินครั้งที่
5
วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
เวลา 08 : 30 –
11 : 30 น.
👶วิธีการการศึกษาพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
1.การทดลอง
2.การสำรวจ
3. วิธีการตรวจสอบจิตตนเอง
4. วิธีทางคลินิก
5. การสังเกตอย่างมีระบบ
6. การใช้แบบสอบถาม
7. การทดสอบทางจิตวิทยา
🍉วิธีการที่ใช้ในการสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
1.การศึกษาแบบธรรมชาติ
เกณฑ์ระบบ (นิยมใช้มากที่สุดในการเก็บข้อมูลเด็ก)
-การสังเกตแบบธรรมชาติ (ในชั้นเรียน , ในสถานการณ์จริง)
-การสังเกตแบบมีโครงสร้าง (มีการวางแผนการสังเกตที่แน่นอน , กำหนดสถานการณ์ได้)
เกณฑ์บุคคล
-การสังเกตโดยเข้าร่วม (ผู้สังเกตเข้าไปอยู่รวมกับเด็ก)
-การเข้ามีส่วนร่วมแบบสมบูรณ์ (ผู้สังเกตทำตัวเหมือนผู้ถูกสังเกต)
-การเข้าไปร่วมไม่สมบูรณ์ (เข้าร่วมกิจกรรมบ้างตามความจำเป็น)
-การสังเกตโดยการไม่เข้าร่วม
-การสังเกตแบบเป็นทางการ (ผู้สังเกตรู้ตัวว่าถูกสังเกต)
-การสังเกตแบบไม่เป็นทางการ (ผู้สังเกตไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต)
2. การรายงานผลตนเอง
ใช้วิธีซักถามผู้สังเกต
3. การศึกษาแบบคลินิก
ครูพยายามทำความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะโดยการสัมภาษณ์ สังเกต สอบถาม
4. การศึกษาเชิงมานุษยวิทยา
ศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม นิยมใช้การสังเกต
🌴เครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต
1.การบันทึกระเบียนพฤติการณ์
วิธีการบันทึกควรมีลักษณะ ดังนี้
-เป็นการสังเกตพฤติกรรมโดยตรง
-บันทึกทันทีหลังจากที่เด็กแสดงพฤติกรรม
-เขียนบันทึกเหตุการณ์เฉพาะสิ่งที่เห็นและได้ยินเท่านั้น
-จดเวลาเริ่มต้นและเวลาหยุดของแต่ละพฤติกรรม
-ควรกำหนดรูปแบบของแบบบันทึก
2. การบันทึกต่อเนื่อง
เป็นการสังเกตบันทึกพฤติกรรมที่มากกว่า 1 เหตุการณ์ ต่อเนื่องกันไป โดยไม่กำหนดเวลา หลังจากบันทึกพฤติกรรมของเด็กแล้ว ต้องทำการวิเคราะห์พฤติกรรมหลังจากที่ได้จดบันทึก แล้วจึงนำมาแปลความหมายและแสดงความคิดเห็น
3. การบันทึกแบบสุ่มเวลา
ใช้แบบฟอร์ม เป็นการบันทึกความถี่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ต้องกำหนดพฤติกรรมที่จะศึกษาในช่วงเวลานั้นๆ
-การบันทึกแบบสุ่มบันทึก 1 – 0
การบันทึกการเกิดหรือไม่เกิดของกลุ่มพฤติกรรมในแต่ละช่วงเวลาที่ต่อเนื่อง
-การบันทึกแบบสุ่มจุดเวลา
บันทึกพฤติกรรมเด็กตามจังหวะเวลา เหมาะสำหรับหาข้อมูลจากเด็กกลุ่มใหญ่
4. การบันทึกสุ่มเหตุการณ์
บันทึกจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรมในช่วงเวลาที่กำหนด ยึดถือการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเป็นหลักแทนการใช้ช่วงเวลา
5. แบบตรวจสอบรายการ
หลักการนำไปใช้
-ใช้ตรวจสอบรายการพฤติกรรม ที่มีจำนวนหลายข้อหลายรายการ
-ใช้ตรวจสอบรายการพฤติกรรมที่มีลักษณะเป็นลำดับขั้น
-ใช้ประเมินพัฒนาการและความสามารถของเด็กเป็นรายบุคคล
-ไม่ควรใช้แบบตรวจสอบรายการเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินพัฒนาการเด็ก
6. แบบประเมินค่า หรือมาตรประเมินค่า
คล้ายกับแบบตรวจสอบรายการ แต่แบบนี้จะมีการบอกความหมายของคุณภาพของระดับพฤติกรรมของเด็กที่ต้องการประเมิน
การประเมินผล
ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายเนื้อหาเข้าใจง่ายและมีการยกตัวอย่างให้เข้าใจมากขึ้น
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน และเข้าใจในเนื้อที่เรียน
ประเมินเพื่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น