บันทึกอนุทินครั้งที่
6
วันศุกร์ที่ 14
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
เวลา 08 : 30 –
11 : 30 น.
ว่าที่
ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด
เนื้อหาที่เรียน
วันนี้เป็นการนำเสนอบทความในห้องเรียน
ปัญหาพฤติกรรม และอารมณ์ในเด็ก
และแนวทางแก้ไขตามหลักการปรับพฤติกรรมทางด้านจิตวิทยา
พฤติกรรมก้าวร้าว
1.จับมือเด็กไว้ด้วยสีหน้าเรียบเฉย เพื่อให้เด็กหยุดทำพฤติกรรม
แล้วพาเด็กไปอยู่ในมุมหรือห้องที่เงียบสงบไม่มีของเล่น
2.ไม่ตำหนิ ประชดประชัน ดุด่า
เนื่องจากเด็กอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้เลี้ยงดูต้องการให้เด็กทำ บอกสิ่งที่เด็กควรทำเช่น
เด็กที่กำลังตบหน้าตัวเอง ให้จับมือเด็กด้วยสีหน้าสงบ บอกเด็กว่า “เอามือลง”
3.ไม่ลงโทษรุนแรงเพื่อให้เด็กหยุด เพราะอาจทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น
ถ้าเด็กตอบโต้ไม่ได้อาจทำให้เด็กรู้สึกกดดัน และเกิดเป็นพฤติกรรมรุนแรงต่อเนื่อง
4.เมื่อเด็กใช้พฤติกรรมรุนแรงเพื่อเรียกร้องให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ
อย่าให้ในสิ่งที่ต้องการ ควรหยุดพฤติกรรมโดยจับมือเด็กไว้
เมื่ออารมณ์สงบจึงชวนให้เด็กทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ
5.หากครั้งใดที่เด็กอารมณ์ดี
หรือไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าวให้รีบให้รางวัล การเสริมแรง
พฤติกรรมแยกตัว ไม่สนใจเล่นกับเพื่อน
1.พาเด็กไปเล่นกับเด็กคนอื่น
2.สอนการเล่นกับเด็กอื่นให้ดู เช่น
จับมือหยิบของเล่นแล้วยื่นให้เด็กอื่น แบ่งขนมให้เด็กอื่น
3.พาเด็กไปร่วมกิจกรรมกลุ่มที่มีเด็กวัยเดียวกันอยู่ เช่น
ศูนย์เด็กเล็ก สวนสาธารณะ
4.ถ้าเด็กเดินเข้าไปหาเด็กอื่น รีบให้รางวัลเพื่อเป็นสิ่งเสริมแรง
5.ให้ญาติหรือคนใกล้ชิดที่มีช่วงวัยใกล้เคียงกันชวนเด็กไปเล่นบ้าง
อารมณ์ฉุนเฉียว
1.ไม่พูดตอกย้ำ หรือตำหนิพฤติกรรมของเด็ก
2.จับมือเด็กไว้เบาๆ แสดงสีหน้าเรียบเฉย พร้อมบอกเด็กว่า “ลุกขึ้น”
ออกแรงดึงเล็กน้อย ถ้าเด็กต้านไม่ควรดึงเด็กขึ้นมา แต่ยังจับมือเด็กไว้
3.ให้เด็กนั่งเก้าอี้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันและค่อยๆเพิ่มระยะเวลาการนั่งทำกิจกรรม
4.ถ้าเด็กยังนั่งตามเวลาที่กำหนดไม่ได้หรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ
พยายามลุกเดินหนี ให้จับมือไว้เบาๆ พร้อมบอกว่า “นั่งลง” เมื่อเด็กทำให้รางวัล
การเสริมแรง
5.ไม่ควรให้ของที่เด็กต้องการเมื่อเด็กแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว
ควรให้เมื่อเด็กมีอารมณ์สงบลงแล้ว
6.หากครั้งใดเด็กอารมณ์ดีให้เข้าไปเล่น และให้รางวัลสิ่งเสริมแรง
พฤติกรรมแยกจากผู้เลี้ยงดูได้ยาก
1.ให้เด็กเล่นของเล่นหรือกินของที่ชอบตามลำพังหรือเล่นกับคนอื่น
จากนั้นผู้เลี้ยงดูค่อยๆ แยกห่างจากเด็ก โดยยังอยู่ในระยะที่เด็กมองเห็น
ค่อยๆเพิ่มระยะเวลาของการแยก จาก 1 นาที
เป็น 2 นาที และเพิ่มเวลาขึ้นไปเรื่อยๆ
2.จากนั้นผู้เลี้ยงดูค่อยๆ ออกไปให้ลับสายตา
แต่ยังส่งเสียงบอกหรือคุยกับเด็กอยู่ ค่อยๆเพิ่มระยะเวลาให้เด็กเห็นไปเรื่อยๆ
3.ค่อยๆลดเสียงพูดกับเด็กลง
4.เมื่อเด็กทำได้ให้รางวัล การเสริมแรง เช่น การชม กอด หอม ยิ้ม
ปรบมือ หรือให้สิ่งของที่เด็กชอบ
พฤติกรรมซน ไม่อยู่นิ่ง
1.ให้เด็กนั่งเก้าอี้ในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เล่นของเล่น กินข้าว
ทำการบ้าน
2.เพิ่มระยะเวลาการนั่งทำกิจกรรมไปเรื่อยๆ
3.ถ้าเด็กยังนั่งไม่ครบตามเวลาที่กำหนดหรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ
พยายามเดิน ให้จับเด็กไว้เบาๆ พร้อมบอกว่า “ นั่งลง”
4.เมื่อเด็กเริ่มทำได้ให้รางวัล การเสริมแรง
5.พาเด็กไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อปลดปล่อยพลังงานในร่างกาย เช่น
ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย เล่น
6.ลดสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กไม่มีสมาธิ เช่น การดูโทรทัศน์ตามลำพัง
เนื่องจากภาพในโทรทัศน์เป็นภาพเคลื่อนไหวเร็ว หากจำเป็นต้องดูควรมีผู้เลี้ยงดูคอยแนะนำหรือพูดคุยกับเด็กด้วย
7.จัดสิ่งแวดล้อมและสิ่งของภายในบ้านให้เป็นระเบียบวินัยให้กับเด็ก
เช่น เก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ เอาเสื้อผ้าที่ใส่แล้วไปใส่ตะกร้า
วางรองเท้าในที่เก็บ
บทความของ น.ส.กรรณิการ์
แสงสูง
ลักษณะพฤติกรรม การเล่นของ เด็กปฐมวัย
1.พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 0-1 ปี
เด็กวัยนี้ในช่วงแรกเกิด -3 เดือน
จะยังไม่สนใจกับการเล่นมากนัก แต่มักจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสการมองเห็นและได้ยิน
การแขวนของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมีเสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสายตา
ฝึกการมองเห็นและการฟังได้สังเกตความเคลื่อนไหว เมื่อเด็กสามารถบังคับใช้กล้ามเนื้อมือในการเคลื่อนแขน
ขา มือ เด็ก จะชอบคว้าจับและสนใจต่อส่งแวดล้อมมากขึ้น ของเล่นที่เด็กชอบ คือ
ของที่ถือได้มีสีสดใสและมีเสียง เด็กจะชอบเอาของเล่นเข้าปาก
จึงต้องระมัดระวังเรื่องของความปลอดภัย
2. พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 1-2 ปี
เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้าง แม้จะไม่มั่นคงนัก
แต่ก็ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่ง ทำให้ได้เรียนรู้ถึงระยะทาง
และฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่างๆ ของเล่นควรเป็นกล่องกระดาษมีเชือกร้อยต่อกัน
เด็กจะสนุกกับสิ่งใหม่ๆ ที่พบเห็นชอบปีนป่ายขึ้นบันได มุดใต้โต๊ะ
เป็นการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวซึ่งยังต้องการช่วยดูแลความปลอดภัยจากผู้ใหญ่
3. พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 2-4 ปี
เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น
และทรงตัวได้ดี เพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ชอบเล่นที่ออกแรงมากๆไม่ว่าจะเป็นวิ่งเล่น
กระโดด ปีนป่าย ม้วนกลิ้ง เตะ ขว้างลูกบอล และขี่จักรยานสามล้อ
เป็นการฝึกกล้ามเนื้อใหญ่ให้แข็งแรงและเคลื่อนไหว กระฉับกระเฉงขึ้น เด็กจะชอบเล่นอิสระและเลียนแบบท่าทางของคนและสัตว์
การเล่นบทบาทสมมุติจำลองสถานการณ์ต่างๆ ด้วยของเล่นที่เหมือนของจริงช่วยสร้างเสริมจินตนาการให้กับเด็กได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
4.พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย
4-6 ปี
เด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้านต่างๆ
มากขึ้นมีการเคลื่อนไหวของร่างกายคล่องแคล่วขึ้น
ชอบเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนาม และเครื่องเล่นที่มีลูกล้อขับขี่ได้
สามารถเล่นของเล่นที่ใช้มือจับได้ดีขึ้น เด็กพอใจจะเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มมากขึ้น
ชอบเลียนแบบชีวิตในบ้านและสังคมแวดล้อม
โดยการแสดงบทบาทสมมติเป็นเรื่องราวมากขึ้นและมีการกำกับบทบาทของเพื่อนเล่น
ชอบฟังนิทาน โคลงกลอน ปริศนาทายคำ
ช่างซักถามและตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆที่พบเห็นในเชิงเหตุผล ชอบทดสอบทดลองด้วยตนเอง
บทความของ น.ส.เรวดี แขวงรถ
พฤติกรรมชอบแย่ง และหวงของเล่น
สาเหตุที่ทำให้เด็กทะเลาะกันเพื่อแย่งของเล่นกันนั้น ได้แก่
1.เด็กอยากเล่นของเล่นชิ้นเดียวกัน
แต่ขาดทักษะในการเล่นร่วมกันกับผู้อื่น หรือทักษะในการแบ่งปัน
2. การแข่งกับพี่น้อง
ซึ่งเด็กอาจรู้สึกอิจฉาพี่น้องคนอื่น
หรือไม่ชอบใจที่พี่หรือน้องได้สิ่งที่ตนต้องการ
โดยเห็นว่าเมื่อแย่งของเล่นมาได้แล้ว ของเล่นชิ้นนั้นก็จะตกมาเป็นของตน
3. ความต้องการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่
4. เด็กขาดการแนะนำที่ถูกต้อง
หรือผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ไม่เหมาะสม เช่น
ผู้ปกครองไม่ได้ห้ามปรามเมื่อเห็นเด็กแย่งของเล่นผู้อื่น
เด็กจึงคิดว่าการแย่งของเล่นไม่ใช่เรื่องผิด
5. ความต้องการควบคุมทุกสิ่งรอบตัว
ซึ่งเด็กไม่สามารถควบคุมอะไรอื่นได้นอกจากของเล่นที่ตนเป็นเจ้าของ ผู้ปกครองก็ต้องสอนความจำเป็นในการแบ่งปันให้แก่เด็ก
6. การแสดงความเป็นเจ้าของ
โดยเด็กจะแสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของทันทีที่คนอื่นมาหยิบของเล่นไป
ถึงแม้จะไม่ได้อยากเล่นของเล่นชิ้นนั้นก็ตาม
7. เด็กจะแย่งของเล่นตราบเท่าที่เด็กคนอื่นแสดงพฤติกรรมลักษณะเดียวกันกับตน
ผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือลูกได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. เตรียมลูกให้พร้อมกับการเล่นร่วมกับผู้อื่นด้วยกิจกรรมที่ต้องผลัดกันเล่น
เพื่อให้ลูกเรียนรู้
และเข้าใจว่าตนย่อมได้สิทธิ์ในการเล่นอีกครั้งเพียงแต่ต้องรู้จักอดทนและรอ
โดยพ่อแม่สามารถทำให้การรอคอยและการแบ่งปันเป็นเรื่องน่าสนุกได้ด้วยการแสดงความกระตือรือร้นในระหว่างที่รอให้ถึงตาตัวเอง
2. จัดให้ลูกได้เล่นกับเพื่อนคนอื่นตามความเหมาะสม
โดยคำนึงถึงวัยและพัฒนาการทางสังคมของเด็ก
3. เตรียมลูกให้พร้อมด้วยการบอกล่วงหน้า
โดยเมื่อเวลามีแขกหรือเด็กคนอื่นเข้ามาในบ้าน
ลูกอาจกังวลว่าเด็กคนอื่นจะทำให้ของเล่นของตนเสียหาย ดังนั้น
หากลูกมีความมั่นใจว่าของเล่นทุกชิ้นอยู่ในสายตาของตน ความเป็นไปได้ที่ลูกจะยินยอมให้เพื่อนเล่นของเล่นด้วยย่อมมีมากขึ้น
4. คอยดูแลความเรียบร้อยในขณะที่ลูกกำลังเล่น
ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ปกครองสามารถสังเกตพฤติกรรมการเล่นของลูกได้แล้ว
ยังสามารถช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
ลูกชอบกัดเล็บทำอย่างไร ชอบกัดเล็บผลเสียอย่างไร
ทำไมถึงชอบกัดเล็บ
ผลเสียของปัญหาการชอบกัดเล็บ
•การกัดเล็บมีผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจากมือของคนเราเป็นส่วนที่สัมผัสกับเชื้อโรคมากที่สุด และในเล็บตามซอกเล็บเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ที่มีมาก
1.ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวและขาดความยับยั้งชั่งใจ
2.ลูกมีพฤติกรรมชอบรังแกเพื่อนเพราะขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
3.เป็นต้นเหตุทำลายความผูกพันในครอบครัว
4.ลูกติดนิสัยโกหก
บทความของ น.ส.วิไลวรรณ พิมสมบูรณ์
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.brainkiddy.com/article/37/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99?fbclid=IwAR2RwM1oxApBMYkHQrgfzXQDpu9kUygZQPeP_QZ-ey-GmhifP9xoLR4lgh4ลูกชอบกัดเล็บทำอย่างไร ชอบกัดเล็บผลเสียอย่างไร
ทำไมถึงชอบกัดเล็บ
การกัดเล็บ มี การศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ว่าเป็น
การลดพฤติกรรมความเครียด ซึ่ง ความเครียด นี้มาจากสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ร้อยละ 99
ของผู้ที่กัดเล็บ เกิดจากปัญหาทางอารมณ์ เช่น ความเครียด หิว เบื่อ
และเพียงแค่ชอบกัดเล็บ
ผลเสียของปัญหาการชอบกัดเล็บ
•การกัดเล็บมีผลเสียต่อบุคลิกภาพ การกัดเล็บให้คนเห็นนั้นทำให้ดูบุคลิกภาพไม่ดี
เมื่อเกิดการต่อต้านจากคนในสังคมนั้นๆ จะส่งผลต่อผู้ที่ชอบกัดเล็บ เช่น
การไม่อยากเข้าสังคม ไม่กล้าเผชิญหน้ากับคน
•การกัดเล็บมีผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจากมือของคนเราเป็นส่วนที่สัมผัสกับเชื้อโรคมากที่สุด และในเล็บตามซอกเล็บเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ที่มีมาก
•การกัดเล็บ มี ผลเสียต่อฟัน การกัดเล็บบ่อยๆ
อาจทำให้ฟันผิดรูปและไม่สวย เป็นสาเหตุของการเสียบุคลิกภาพ เพิ่มขึ้นอีก
•การกัดเล็บ มี ผลเสียต่อนิ้วมือและเล็บ การกัดเล็บ ทำให้เกิดแผล
อาการช้ำ อาการบวม ซึ่งอาจส่ง ผลต่อการผิดรูปผิดร่างของมือและเล็บ ได้
วิธีการแก้ปัญหาการชอบกัดเล็บ
1.หากิจกรรมให้เด็กทำ แนะนำให้กิจกรรมที่เป็นการใช้มือมากๆ
จะทำให้เด็กสนุก ผ่อนคลาย และไม่มีเวลาว่างในการกัดเล็บ
2.ลดความเครียดของลูก ไม่ว่าจะเป็นการทำกิจกกรมที่ต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อน
หรือการใช้ชีวิตของเด็ก พ่อกับแม่ต้องสังเกตุพฤติกรรมของลูก อย่างใกล้ชิด
3.อธิบายให้ลูกเข้าใจ การห้ามกัดเล็บนั้นสำหรับเด็กบางคน ดื้อ
จะไม่เชื้อฟัง ต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจถึงปัญหาการกัดเล็บ
4.หาตัวอย่างปัญหาจากการกัดเล็บให้ลูกดู หากเด็กเห็นตัวอย่างปัญหาด้านสุขภาพจากการกัดเล็บ
เด็กจะเกิดการกลัวในการกัดเล็บ และไม่กล้ากัดเล็บไปเอง
5.ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ หากไม่มีเล็บให้กัดได้แล้ว
เด็กบางคนจะเลิกกัดเล็บไปเอง
6.หาบอระเพ็ดมาทาเล็บเด็กหากมีรสขมที่ปากขณะกัดเล็บ จะเลิกกัดเล็บไปเอง
บทความของ น.ส.อัญธิฌา แก้วคนครง
ผลลัพธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล
1.ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวและขาดความยับยั้งชั่งใจ
เด็กๆ ที่ถูกเลี้ยงดูด้วยอารมณ์ตั้งแต่ขวบแรก
จะเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้นเมื่อมีอายุครบสองขวบ
และมีผลกระทบกับกระบวนการทางความคิดในวัยสามขวบขึ้นไป ส่งผลให้ลูกใช้กำลัง
ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม รวมไปถึงทำลายข้าวของ
การใช้เหตุผล ลูกในวัย 2-6 ขวบ
เป็นช่วงเรียนรู้ระเบียบวินัย ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดที่พ่อแม่สามารถทำได้คือ
การแนะนำ อธิบายให้ลูกเรียนรู้ และเข้าใจสิ่งต่างๆ
ที่สำคัญคือควรหลีกเลี่ยงการลงโทษลูกด้วยการตี
2.ลูกมีพฤติกรรมชอบรังแกเพื่อนเพราะขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
เลี้ยงลูกด้วยอารมณ์ในระยะสั้นจะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก
ทำให้ลูกรู้สึกไม่ปลอดภัยและหวาดกลัว
แต่ในระยะยาวส่งผลให้ลูกเลียนแบบพฤติกรรมไม่น่ารัก
ด้วยการใช้คำพูดและรังแกเพื่อนหรือคนรอบตัว เพราะรู้สึกไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
การใช้เหตุผล สอนและคุยกับลูกด้วยเหตุผล ใช้ถ้อยคำที่นุ่มนวล
ชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ต่างๆ ที่จะตามมาเมื่อลูกมีพฤติกรรมไม่น่ารัก
รวมถึงสอนให้ลูกภูมิใจในตัวเอง
เพื่อให้ลูกมั่นใจและพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ดีกับคนอื่น
3.เป็นต้นเหตุทำลายความผูกพันในครอบครัว
นอกจากการเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์จะส่งผลกระทบกับพฤติกรรมและจิตใจของลูกแล้ว
ยังส่งผลกับความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย ยกตัวอย่างเช่น
เกิดปัญหาทะเลาะวิวาทและใช้ความรุนแรง
รวมถึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกห่างเหิน ทำให้ลูกขาดความใกล้ชิด
รู้สึกไม่ได้รับความรัก ความใส่ใจ
การใช้เหตุผล การลงโทษเป็นการควบคุมลูกให้อยู่ในระเบียบ
แต่สิ่งที่ลูกรู้สึกคือพ่อแม่กำลังพยายามทำร้าย
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนจากการลงโทษมาเป็นวางข้อตกลงและแนะนำลูก
ยกตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “จะต้องให้แม่ พูดอีกกี่ครั้งว่าให้เล่นเบาๆ”
เปลี่ยนเป็นบอกลูกว่า “ลูกเล่นแรงไปแล้ว แม่จะให้ลูกหยุดเล่นก่อน เพราะมันอันตราย
ถ้าลูกนิ่งแล้วเรามาเล่นกันใหม่”
4.ลูกติดนิสัยโกหก
เพราะการพูดความจริงจะถูกคุณพ่อคุณแม่ลงโทษอย่างรุนแรง
ลูกเลยเลือกที่จะโกหกเพื่อปกปิดความผิดที่ทำ เมื่อโกหกบ่อยๆ กลายเป็นนิสัยติดตัว
การใช้เหตุผล
สร้างความไว้วางใจให้ลูกและหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะเปิดโอกาสให้ลูกโกหก
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกทำน้ำหกเลอะลงพื้น แทนที่จะพูดว่า “นั่นลูกทำอะไรน่ะ”
เปลี่ยนเป็นบอกลูกว่า “แม่เห็นลูกทำน้ำหก ไปหาผ้ามาเช็ดพื้นด้วยนะคะ”
บทความของ น.ส.กาญจนา ศรีสุข
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://aboutmom.co/features/emotion-more-than-reason/12153/?fbclid=IwAR0rV9b8IcA-I8ablWcy5nYlxXflZYG3dHk9J1KKXW25-N87U-XHN2BfkFE
ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมในเนื้อหาของแต่ละคนได้อย่างเข้าใจ และอธิบายคำศัพท์ใหม่ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน
การประเมินผล
ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมในเนื้อหาของแต่ละคนได้อย่างเข้าใจ และอธิบายคำศัพท์ใหม่ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน
ประเมินตนเอง
นำเนอได้ไม่ค่อยดี เพราะวันนี้ไม่ได้มีการเตรียมตัวมา
ครั้งหน้าจะทำให้ดีกว่านี้ และจะเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนใหญ่นำเสนอบทความของตัวเองได้ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น